ข้างหลังชีวิต ภาคปัจฌิมวัย (5)

ผมลาสิกขา(สึก)จากการเป็นพระภิกษุ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2543 เมือลาสิกขากลับมาบ้านแล้ว ก็ยังคิดไม่ออกว่าจะดำเนินชีวิตต่อจากนี้ไปยังไง เพราะการลาสิกขาตอนนี้(อายุ 62 ปี) มันต่างจากที่ลาสิกขาตอนอายุ 21 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2503 เป็นอันมาก

ชีวิตตอนนี้มันคงจะเริ่มต้นทำอะไรยากแล้ว ถึงแม้จะมีความมั่นใจว่าสามารถจะทำอะไรต่อมิอะไรได้ แต่จะมีใครเขามาสนใจคนสูงวัยเช่นผม ครั้นจะไปเริ่มต้นทำธุรกิจค้าขายอะไร ก็ไม่มีความชอบหรือสนใจที่จะทำ ข้อสำคัญคือไม่มีเงินทุนอีกต่างหาก เผลอไผลทำแล้วเกิดขาดทุน เป็นหนี้เขาตอนแก่ตัวนี่คงจะไม่โสภา(สถาพร)นะ

วันหนึ่งก็ได้รับการติดต่อจากคุณต้อย(รัชนีวรรณ รัตนวิระกุล) เพื่อร่วมงานเก่าสมัยทำงานที่โรงแรมชวลิต เธอแจ้งว่าคุณกมล รัตนวิระกุล(สามีของเธอ) จะจัดตั้งสมาคมการบริหารโรงแรมไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะในการบริหารจัดการโรงแรมและรีสอร์ขนาดกลางและขนาดเล็ก ใคร่จะขอให้มาช่วยในฐานะกรรมการบริหารสมาคมฯด้วย เพราะโอกาสต่อไปคงจะมีหลักสูตรในการจัดอบรมเจ้าของและผู้บริหารระดับสูงของโรงแรมด้วย

ผมตอบรับเชิญด้วยความยินดี ด้วยเหตุผลหลักๆคือต้องการที่จะทำงานด้านการฝึกอบรมและสัมมนาอีก ประการต่อมาคือชีวิตจะได้มีโอกาสพบปะผู้คนต่างๆบ้าง แทนที่จะอยู่บ้านคนเดียว(จริงๆ) อย่างไร้ค่า

ถึงแม้ใครต่อใครจะพากันพูดว่า ชีวิตตอนนี้เป็น “วัยทอง” แต่ถ้าไม่สามารถบริหารชีวิตให้ดีมีคุณค่าแล้ว มันอาจจะเป็นทองเหลืองมากกว่าทองคำก็ได้ใครจะรู้ ชีวิตในวัยสูงอายุผมว่าบริหารยากกว่าตอนวัยหนุ่มสาวนะ เพราะชีวิตในวัยสูงอายุมีความเปราะบางมาก เช่นสภาพร่างกายที่มันพร้อมจะเชื้อเชิญโรคนานาชนิดเข้ามาสู่ร่างกายได้เสมอ สภาพที่เสื่อมถอยของสุขภาพ เช่น การเดินเหินไม่สะดวก สายตาเสื่อมถอย ฟันฟางหัก ความจำเสื่อม ฯลฯเป็นต้น

สารพัดละที่จะเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมต่างๆของชีวิต แต่จะอยู่นิ่งเฉยก็จะยิ่งแย่ลงมาก ฉะนั้นทางที่ดีจึงต้องหากิจกรรมที่เหมาะกับวัยทำ หลายคนก็จนปัญญากับการหากิจกรรมทำในวัยสูงอายุนี่แหละ

ชีวิตวัยสูงอายุ

Advertisement

เกี่ยวกับ หนุ่มร้อยปี

ชอบดูหนัง ฟังเพลงเก่า เล่าความหลัง นั่งเล่นเน็ต ถ่ายรูป อ่านหนังสือ
ข้อความนี้ถูกเขียนใน ข้างหลังชีวิต ภาคปัจฌิมวัย (1) คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s